ในคู่มือการออมเงินนี้ เราจะให้คำแนะนำที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและตรงไปตรงมา เพื่อช่วยให้คุณเก็บงินได้จนไปถึงเป้าหมาย ไม่สะดุดล้มระหว่างทาง และหากคุณได้ปฏิบัติตามเคล็ดลับด้านล่างนี้ ปรับและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของคุณ คุณจะประสบความสำเร็จในเป้าหมายทางการเงินของคุณอย่างแน่นอน

วิธีการเก็บเงินแบบเท่ากันทุกวัน (เน้นเก็บระยะยาว)

  • ประหยัด 5 บาท ทุกวันเป็นเวลา 30 วัน: เงินออมทั้งหมด = 5 * 30 = 150 บาท
  • ประหยัด 10 บาท ทุกวันเป็นเวลา 30 วัน: เงินออมทั้งหมด = 10 * 30 = 300 บาท
  • ประหยัด 20 บาท ทุกวันเป็นเวลา 30 วัน: เงินออมทั้งหมด = 20 * 30 = 600 บาท
  • ประหยัด 50 บาท ทุกวันเป็นเวลา 30 วัน: เงินออมทั้งหมด = 50 * 30 = 1,500 บาท
  • ประหยัด 100 บาท ทุกวันเป็นเวลา 30 วัน: เงินออมทั้งหมด = 100 * 30 = 3,000 บาท

เทคนิคการเก็บเงินแบบนี้เหมาะกับการสร้างนิสัยเก็บเงินที่มั่นคง ด้วยทฤษฎี 21 วัน ที่บอกว่า หากเราได้ทำอะไรติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน จะถือได้ว่าเราได้สร้างนิสัยใหม่ขึ้นมาแล้ว ซึ่งสามารถเลือกตัวอย่างด้านบนไปทำได้ โดยขอแนะนำให้เลือกตัวอย่างที่ไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป เพื่อที่เราจะไม่ล้มเลิกเก็บเงินไปก่อน

วิธีการเก็บเงินแบบเพิ่มขึ้นทุกวัน (เน้นถึงเป้าหมายเร็ว)

เพิ่มวันละ 5 เก็บได้ 2,325

เพิ่มวันละ 10 เก็บได้ 4,650 เพิ่มวันละ 20 เก็บได้ 9,000
วันที่ 1: 5 วันที่ 1: 10 วันที่ 1: 20
วันที่ 2: 10 วันที่ 2: 20 วันที่ 2: 40
วันที่ 3: 15 วันที่ 3: 30 วันที่ 3: 60
วันที่ 4: 20 วันที่ 4: 40 วันที่ 4: 80
วันที่ 5: 25 วันที่ 5: 50 วันที่ 5: 100
วันที่ 6: 30 วันที่ 6: 60 วันที่ 6: 120
วันที่ 7: 35 วันที่ 7: 70 วันที่ 7: 140
วันที่ 8: 40 วันที่ 8: 80 วันที่ 8: 160
วันที่ 9: 45 วันที่ 9: 90 วันที่ 9: 180
วันที่ 10: 50 วันที่ 10: 100 วันที่ 10: 200
วันที่ 11: 55 วันที่ 11: 110 วันที่ 11: 220
วันที่ 12: 60 วันที่ 12: 120 วันที่ 12: 240
วันที่ 13: 65 วันที่ 13: 130 วันที่ 13: 260
วันที่ 14: 70 วันที่ 14: 140 วันที่ 14: 280
วันที่ 15: 75 วันที่ 15: 150 วันที่ 15: 300
วันที่ 16: 80 วันที่ 16: 160 วันที่ 16: 320
วันที่ 17: 85 วันที่ 17: 170 วันที่ 17: 340
วันที่ 18: 90 วันที่ 18: 180 วันที่ 18: 360
วันที่ 19: 95 วันที่ 19: 190 วันที่ 19: 380
วันที่ 20: 100 วันที่ 20: 200 วันที่ 20: 400
วันที่ 21: 105 วันที่ 21: 210 วันที่ 21: 420
วันที่ 22: 110 วันที่ 22: 220 วันที่ 22: 440
วันที่ 23: 115 วันที่ 23: 230 วันที่ 23: 460
วันที่ 24: 120 วันที่ 24: 240 วันที่ 24: 480
วันที่ 25: 125 วันที่ 25: 250 วันที่ 25: 500
วันที่ 26: 130 วันที่ 26: 260 วันที่ 26: 520
วันที่ 27: 135 วันที่ 27: 270 วันที่ 27: 540
วันที่ 28: 140 วันที่ 28: 280 วันที่ 28: 560
วันที่ 29: 145 วันที่ 29: 290 วันที่ 29: 580
วันที่ 30: 150 วันที่ 30: 300 วันที่ 30: 600

ไอเดียการเก็บเงินแบบนี้ เหมาะกับผู้มีเป้าหมายเก็บเงินระยะสั้น ไปถึงกลาง เพื่อนำเงินไปใช้ไปทำบางสิ่งบางอย่างโดยเร็ว เนื่องจากจำนวนเงินที่เก็บจะเพิ่มขึ้น ทำให้มีระดับความยากและต้องใช้ความพยายามหรือความอดทนสูง ข้อดีของวิธีนี้คือเงินที่เก็บต่อวันเพิ่มขึ้นแบบไม่ก้าวกระโดด ทำให้เราค่อย ๆ ปรับตัวได้ และเมื่อถึงสิ้นเดือนจะเก็บเงินได้เยอะมาก หากต้องการใช้วิธีเก็บเงินนี้ ขอแนะนำให้เก็บแบบย้อนกลับ หรือก็คือเริ่มเก็บจากยอดเงินที่สูงสุดก่อน และน้อยลงมาวันละ 5,10, 20 บาท ตามลำดับทั้งนี้ก็เพราะว่า การที่เราจะเริ่มจากยากไปง่าย กำลังใจในการเก็บเงินของเราจะเพิ่มขึ้นทุกวันนั่นเอง อย่างไรก็ตามตัวอย่างการเก็บเงินที่เรานำมาแนะนำในตารางด้านบน สามารถเลือกทำได้ตามกำลังรายได้ของตน

ข้อควรคำนึงในการเก็บเงิน

ตั้งเป้าหมายให้ชัด

การเก็บเงินให้ได้จริง เก็บให้อยู่ เราจะต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน กำหนดวิธีที่จะไปถึงเป้าหมาย และนำไปปฎิบัติ โดยเอาจริงเอาจังกับมัน เช่น ตั้งกรอบเวลา 30 วัน เราจะเก็บให้ได้ 1,500 บาท เพื่อนำเงินที่เก็บไปซื้อรองเท้า Nike เราจะเก็บทุกวันวันละ 50 บาท โดย 50 บาทนั้นจะมาจากการประหยัดค่ากาแฟหรือประหยัดค่าขนม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างความชัดเจนและวัดความเป็นไปได้ตั้งแต่ต้น หากเรากำหนดเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ วิธีการดีแค่ไหนก็ไปไม่ถึงอยู่ดี แต่หากเรากำหนดว่าเป้าหมายเป็นไปได้ และมีวิธีการที่ชัดเจนแล้ว ที่เหลือก็อยู่ที่กำลังใจของเราเท่านั้น

ลบ "ข้ออ้าง"

ข้อควรคำนึงในการสร้างนิสัยเก็บเงินระยะยาวหรือให้ถึงเป้าหมายก็ คือ ความมั่นคง หรือหากมองอีกมุม คือ การลบข้ออ้าง เช่น หากเราต้องการออมเงิน 10 บาท ทุกวัน เป็นเงินสด เราควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ว่าเราจะมีเหรียญ 10 บาททุกวันหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นเราจะสามารถหาข้ออ้างในการไม่ออมได้นั่นเอง ในกรณีแบบนี้เราควรเลือกเก็บแบบดิจิทัลโดยใช้แอปอย่าง MAKE by Kbank ที่สามารถแยกบัญชีออมเงินได้ หรือเลือกเก็บแบบล่วงหน้า 100 บาท 10 วันไปเลย หรือใครที่มีวินัยสูงก็สามารถเลือกบัญชีเงินฝากที่ดอกเบี้ยสูงๆ อย่าง KKP Dime! save ที่ให้ดอกเบี้ยถึง 6% ต่อปี

หากสงสัยว่าเงินที่จะเก็บออมนั้นจะหามาจากไหน หรือเอาส่วนไหนมาโป๊ะดี อ่านได้จากบทความด้านล่าง

28 วิธีประหยัดเงิน ลดรายจ่ายในชีวิตที่ใครก็ทำได้

แจกตารางออมเงินที่ทำได้จริง

ตารางออมเงินนั้นเปรียบเสมือนการจดบันทึกความสำเร็จของตัวเอง ซึ่งทุกครั้งที่คุณขีดฆ่าหรือติ๊กออกจะช่วยเพิ่มแรงบันดาลใจและคอยย้ำเตือนคุณว่า เป้าหมายการออมของคุณนั้นเป็นไปได้ และใกล้เข้ามาเรื่อยๆ แล้ว

ตารางออมเงินปรับแต่งเอง

ตารางออมเงินปรับแต่งเอง

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลด ตารางออมด้านบนนี้คุณสามารถนำไปเติมเป้าหมาย และกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการเก็บแต่ละวันได้ด้วยตัวคุณเอง หรือนำตัวอย่างด้านบนไปใส่ก็ได้

ตารางออมเงิน 1,000 บาท

ตารางออมเงิน 1000 บาท

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลด ตารางออมเงินด้านบน คือ ตารางออมเงิน 1,000 บาท ที่ต้องออมทุกวันวันละ 50 บาท เป็นเวลา 20 วัน

ตารางออมเงิน 2,000 บาท

ตารางออมเงิน 2000 บาท

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลด ตารางออมเงินด้านบน คือ ตารางออมเงิน 2,000 บาท ที่ต้องออมทุกวันวันละ 100 บาท เป็นเวลา 20 วัน

ตารางออมเงิน 5,000 บาท

ตารางออมเงิน 5000 บาท

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลด ตารางออมเงินด้านบน คือ ตารางออมเงิน 5,000 บาท ที่ต้องออมทุกวันวันละ 167 บาท เป็นเวลา 30 วัน

ตารางออมเงิน 10,000 บาท

ตารางออมเงิน 10000 บาท

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลด ตารางออมเงินด้านบน คือ ตารางออมเงิน 10,000 บาท ที่ต้องออมทุกวันวันละ 334 บาท เป็นเวลา 30 วัน

และทั้งหมดนี่คือวิธีการออมเงิน ที่เราสามารถรู้ชัดตั้งแต่ตั้งเป้าหมายว่าจะทำได้จริงหรือไม่ และหากคุณได้ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ และวางแผนทุกขั้นตอนออกมาชัดเจนแล้ว มั่นใจได้เลยว่าการเก็บเงินของคุณจะทำได้จริงอย่างแน่นอน สุดท้ายนี้หวังว่าคุณจะสามารถไปถึงเป้าหมายการเงินระยะสั้น ระยะยาวของคุณได้ในเร็ววันนะ!