Scarcity Mindset เป็นโครงสร้างทางจิตวิทยา มีลักษณะเป็นสภาวะหมกมุ่นของความรู้สึกว่า “กลัวจะไม่มี” บางคนอาจเชื่อว่าแนวคิดนี้ใช้เพียงกับเรื่องการเงินเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งนี้อยู่เหนือเรื่องวัตถุนิยมไปอีก เช่นส่งผลต่อวิธีที่ผู้คนมองเห็นโอกาส เวลา ความสัมพันธ์ และแม้แต่คุณค่าในตนเอง ความคิดนี้แผ่ซ่านไปทั่วชีวิตของเรา มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์ และการเติบโตของเส้นทางชีวิต ดังนั้นแล้วการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบความคิดเรื่องความขาดแคลนนั้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมการปรับมุมมองในแต่ละแง่มุมของชีวิต
ทำความเข้าใจ Scarcity Mindset
นิยาม Scarcity Mindset คืออะไร ?
ความรู้สึกหรือความกังวลที่ จะไม่มี แสดงถึงโลกทัศน์ที่มองว่าชีวิตเป็นเกมผลรวมศูนย์ (zero-sum game) หรือก็คือ หากมีได้ก็มีเสีย มีแพ้มีชนะ เช่นได้มือถือใหม่มาก็จะเสียเงินไป ซึ่งนี่เป็นมุมมองที่มีพื้นฐานมาจากความกลัว โดยทั่วไปคนเรามักจะมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่เราไม่มีมากกว่าสิ่งที่เรามี และด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล ไม่พอใจ และจะทำให้เวลาทำอะไรก็จะดูสำเร็จยากไปซะหมด
ลักษณะของ Scarcity Mindset
Scarcity Mindset มีอยู่หลายรูปแบบที่สังเกตุเห็นได้เป็นประจำ เช่น ความหมกมุ่นเกินควรกับการสูญเสียสิ่งที่รักไป การเปรียบเทียบกับผู้อื่นที่มากเกินไป นิสัยชอบทำงานหนักเกินไป กลัวการถูกแทนที่ หรือการไม่ชอบแบ่งปัน แก่นแท้ของ Scarcity Mindset คือการระแวดระวังมากเกินไปเกี่ยวกับการสูญเสียบางอย่างที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้เราไม่เต็มใจที่จะเสี่ยง ทั้งหมดนี้ขับเคลื่อนด้วยความรู้สึกไม่มั่นคงและความกลัว
ผลกระทบของ Scarcity Mindset
ชีวิตส่วนตัว
Scarcity Mindset ในชีวิตส่วนตัวอาจส่งผลให้เกิดความไม่พอใจและความกลัวเรื้อรัง ขัดขวางความคิดสร้างสรรค์และจำกัดการเติบโต มันทำให้ผู้คนระมัดระวังมากเกินไป ลดความเต็มใจที่จะเสี่ยง และจำกัดความสามารถในการทดลอง คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ความคิดนี้ยังกัดกร่อนความสัมพันธ์ เนื่องจากเราอาจกลายเป็นคนขี้หึงหรือชอบแข่งขันไปซะทุกอย่าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้บั่นทอนความไว้วางใจและความเห็นอกเห็นใจของผู้อื่น
การงาน
ในสภาพแวดล้อมแบบการงาน Scarcity Mindset สามารถขัดขวางความก้าวหน้าในอาชีพได้ คนที่มีความความกังวลที่ จะไม่มี มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินใจและการแก้ปัญหา เพราะคนเหล่านั้นจะเน้นเป้าหมายไปที่ การหลีกเลี่ยงการสูญเสีย มากกว่าการได้รับผลประโยชน์ ความคิดแบบนี้ยังสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ toxic เช่น ไม่ไว้วางใจเพื่อนร่วมงาน คอยแข่งขันอยู่ตลอด และกลัวล้มเหลว กลัวโดนว่าโดยกล่าวหาเป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ Teamwork หายไปอย่างสิ้นเชิง
สังคม
ในระดับสังคม Scarcity Mindset ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน การแข่งขัน และความขัดแย้ง มันนำไปสู่ความมั่งคั่งและการกระจุกตัวของทรัพยากรในมือของคนไม่กี่กลุ่ม สร้างสังคมที่แตกแยกโดยแยกเป็นคนที่มีและไม่มี Scarcity Mindse ยังคอยสุมไฟในความขัดแย้ง เนื่องจากทรัพยากรถูกมองว่ามีจำกัดและควรค่าแก่การแย่งชิง
ต้นกำเนิดของ Scarcity Mindset
มันอยู่ในสายเลือด
Scarcity Mindset มีพื้นฐานทางชีววิทยา มนุษย์มีวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตที่มุ่งเน้นการเอาชีวิตรอด โดยมีเงื่อนไขเพื่อคาดการณ์ความขาดแคลนและตอบสนองด้วยการกักตุนทรัพยากร สัญชาตญาณจากบรรพบุรุษคอยบอกให้เราเก็บ กักตุนทรัพยากรในช่วงเวลาที่ขาดแคลนหรืออาจจะขาดแคลน ซึ่งจะเห็นได้ชัดในปัจจุบัน เช่น การเก็บเงิน การประหยัดที่คอยมองหาส่วนลด หากไม่มี ไม่ซื้อเป็นต้น
ปัจจัยแวดล้อม
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม มีบทบาทสำคัญในการสร้าง Scarcity Mindset หากเรามีประสบการณ์การถูกกีดกันหรือขาดแคลนเป็นเวลาหลายปี อาจทำให้ความรู้สึกขาดแคลนจมปลึกอยู่ในส่วนลึกของจึตใต้สำนึกเราได้ ซึ่งจะสร้างทัศนคติต่อทรัพยากร ความสัมพันธ์ และการฉกฉวยโอกาสให้ชีวิตของเราอีกด้วย
การเอาชนะ Scarcity Mindset
การรับรู้และยอมรับ
ขั้นตอนแรกในการเอาชนะความกังวลว่าจะไม่มี คือการรับรู้ถึงการมีอยู่ของมัน การทำความเข้าใจลักษณะของมัน รู้ถึงผลกระทบหากเรามีความคิดแบบนั้น และจำแนกต้นเหตุที่สร้างความกังวล สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้างรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงในมุมมอง ความคิดในชีวิต
ปลูกฝัง Mindset ใหม่
การย้ายจากความคิด ความกังวลว่าจะไม่มี ไปสู่การมองโลกในแง่ดี ทุกอย่างเป็นไปได้ เกี่ยวข้องกับการยอมรับความเชื่อที่ว่าชีวิตไม่ใช่เกมผลรวมเป็นศูนย์ มันเกี่ยวข้องกับการชื่นชมสิ่งที่คุณมี การยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น และการตระหนักถึงศักยภาพในการเติบโตและโอกาสที่มีมากมาย การปลูกฝังกรอบความคิดเรื่องความรุ่มรวยทางจิตใจสามารถส่งเสริมความสุข ปรับปรุงความสัมพันธ์ และทำให้การตัดสินใจเฉียบขึ้น
การรู้สึกขอบคุณ
การรู้สึกขอบคุณ สามารถช่วยให้บุคคลเปลี่ยนจากความกังวลว่าจะไม่มี ไปสู่การมองโลกในแง่ดีได้ การเห็นคุณค่า ความสามารถ และศักยภาพในตนเองเป็นประจำสามารถช่วยให้เรามุ่งความสนใจไปที่จุดแข็งของตน ส่งเสริมทัศนคติเชิงบวกต่อชีวิต ขอบคุณสิ่งต่างๆ ที่เรามี หรือเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นกับเราในวันนี้
ปรึกษาจิตแพทย์
ในบางกรณี การไปหาจิตแพทย์หรือนักให้คำปรึกษาเฉพาะทางอาจเป็นประโยชน์ เขาสามารถจัดเตรียมเทคนิคต่างๆ บอกวิธีจัดการเพื่อเอาชนะความคิดลบ ๆ ที่ฝังแน่นได้
กล่าวโดยสรุป Scarcity Mindset ซึ่งมีลักษณะเด่นคือความเชื่อ ความกังวล ความกลัวที่ จะไม่มีหรือขาด มีความหมายลึกซึ้งต่อปัจเจกบุคคลและสังคม มันสามารถมีอิทธิพลต่อความสุขส่วนบุคคล การเติบโตในอาชีพ ความสัมพันธ์ และความปรองดองทางสังคม อย่างไรก็ตาม ด้วยการตระหนักถึงการมีอยู่ของมัน เข้าใจที่มาของมัน เราจะสามารถย้ายจากชีวิตที่มองแต่ด้านลบไปสู่หนึ่งการมองโลกในแง่ดีได้